วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกครั้งที่ 3 
วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • STEM / STEAM Education
  • ตกแต่งจานกระดาษ
  • สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ
  • ถ่ายภาพ
ทฤษฏี

       STEM : เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน


STEM Education (สะเต็มศึกษา)
  1. Science:การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
  2. Technology:วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม 
  3. Engineering:ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา 
  4. Mathematics:เรื่องของการคำนวณ







"ตกแต่งจานกระดาษ"









วิธีการทำ

1.ครูแนะนำอุปกรณ์
- วันนี้ึครูมีอุปกรณ์มาให้เด็กๆ ด้วย ชิ้นนี้คืออะไร?? (ชูขึ้นถามเด็ก)
- เด็กๆ เห็นอะไรบ้างคะ (ครูถามเด็ก)
- เด็กๆ คิดว่าวันนี้เราจะมาประดิษฐ์อะไรกันลูก (ครูถามเด็ก)
- สรุปอุปกรณ์ (วางขวามือครู)
- ตัดกระดาษไว้เลย (กรรไกร)

2.สาธิตวิธีการทำ
- ครูตัดจานกระดาษให้เด็ก ๆ โดย ทั้งสองข้างต้องเท่ากัน


- ให้เด็ก ๆ ตกแต่งจานกระดาษของตนเองด้วยสีเทียน เป็นรูปผีเสื้อ

- ให้เด็กๆ ประกอบจานกระดาษ กับไม้ไอติม ให้เป็นรูปผีเสื้อ

อุปกรณ์

1.จานกระดาษ
2.ไม้ไอติม
3.สีเทียน
4.กรรไกร


ผลงานของเรา




สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ






อุปกรณ์
1.กิ่งไม้
2.ใบไม้
3.ดอกไม้
4.เชือก
5.ผ้าสีขาวบาง




ถ่ายภาพวัฏจักรผีเสื้อ
  1. ใช้ดินน้ำมันปั้นวัฏจักรผีเสื้อ
  2. ใช้โปรแกรม Stop Motion Video 
  3. ส่ง VDO หน้า Facebook อาจารย์



การนำไปประยุกต์ใช้

STEM/STEAM สามารถนำไปบูรณาการกับ 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยได้อย่างดีและเป็นการให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่นการประดิษฐ์ผีเสื้อ สร้างที่อยู่ของผีเสื้อ ทำวัฎจักรผีเสื้อโดยใช้เทคโนโลยี

ประเมินผล

ตนเอง : ชอบวิชานี้เพราะได้ปฎิบัติจริง ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สนุกสนานกับเพื่อนๆ

เพื่อน : เพื่อนทำผลงานออกมาสวยงามทุกกลุ่ม ตั้งใจทำงานดีคะ

อาจารย์ มีกิจกรรมใหม่ ๆ มาให้ลองทำ สนุกมากค่ะ 

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559



ความรู้ที่ได้รับ
  • เรียนทฤษฏีการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  • กิจกรรม Marshmallow Tower
  • กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ
  • กิจกรรมออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์


การเล่น
  • กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ 
  • ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
  • ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 

        ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
          1. การเล่นกลางแจ้ง
          2. การเล่นในร่ม

                การเล่นสรรค์สร้าง
                  • การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
                  • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
                  • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง




                  กิจกรรม Marshmallow Tower
                  • จัดในมุมเสริมประสบการณ์
                  • จัดในมุมวิทยาศาสตร์
                  • จัดในมุมศิลปะ





                  อุปกรณ์
                  1. ดินน้ำมัน
                  2. ไม้จิ้มฟัน
                  3. กระดาษ
                  วิธีการ
                  1. เตรียมอุปกรณ์ให้ครบ
                  2. สอนวิธีเล่น "นำดินน้ำมันกับ ไม้ มาต่อเป็นตึกสูง"      
                  3. 3.ครั้งที่ 1 เงื่อนไข "ห้ามใช้เสียง 




                  4.ครั้งที่ 2 เงื่อนไูข "เลือกหัวหน้า ใช้เสียงได้ 1 คน
                  5.ครั้งที่ 3 เงื่อนไข "คุยกันได้ทั้งกลุ่ม


                  "กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ"







                   อุปกรณ์
                  1. กระดาษ 1 ใบ
                  2. ยาง 4 เส้น
                  3. ตะเกรียบ 4 อัน

                   วิธีการ
                  1. หาวิธีพับเรือให้ลอยอยู่บนผิวน้ำ
                   2.นำซอสใส่ลงในเรือ นับ 1-10 โดยเรือไม่จบ ใครได้ ซอสมากที่สุด เป็นฝ่ายชนะ





                  "กิจกรรมออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์"
                  • ออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์
                  • กติกา
                  1. เครื่องประดับศีรษะ
                  2. เสื้อ ไหล่
                  3. เครื่องประดับแขน นิ้ว
                  4. กางเกง กะโปรง ผ้านุ่ง
                  5. แผงหลัง
                  6. รองเท้า
                  7. อื่นๆ
                  • เกณฑ์การตัดสิน : มโหฬาร ยิ่งใหญ่ ใส่ใจองค์ประกอบ ครอบคุมความหมาย




                  การนำไปประยุกต์ใช้
                      จากการเรียนทฤษฏีทำให้ทราบถึงธรรมชาติและความต้องการของเด็ก และนำมาคิดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง

                  ประเมินผล
                  • ตนเอง : ชอบกิจกรรมทุกกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา สนุก ได้คิดตลอดเวลา
                  • เพื่อน : กิจกรรมวันนี้สนุกสนาน เพื่อนได้มีส่วนร่วมทุกคน เพื่อนร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ
                  • อาจารย์ : มีกิจกรรมใหม่ ๆมาให้เล่น กิจกรรสนุก หลากหลาย น่าสนใจ ชอบมากค่ะ

                  วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559





                  บันทึกครั้งที่ 1
                  วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559




                  ความรู้ที่ได้รับ

                                                   ใบคะแนน


                                               



                  เพลงภาษาอังกฤษ











                  ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
                        ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
                  1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)2. ความคิดริเริ่ม (Originality)3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
                  4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

                  ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

                  • ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
                  • ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
                  • ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
                  • ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
                  • ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ


                  ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์

                  • ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
                  • อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
                  • ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
                  • ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
                  • ช่วยให้ปรับตัวได้ดี




                  ผลงานศิลปะจากบทเพลง


                  ฟังเพลง และลากเส้นไปตามจังหวะเพลงวาดรูปทับเส้นตามจินตนาการ




                  ผลงานของเพื่อน ๆ

                  การนำไปประยุกต์ใช้
                  - การสอนศิลปะในห้องเรียน
                  - การจัดเป็นกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
                  - นำขั้นตอนการสอนศิลปะสร้างสรรไปใช้จริงกับการสอนได้

                  ประเมินผล
                  ตนเอง : สนใจและร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน 
                  เพื่อน : เพื่อนมีความตั้งใจขณะทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
                  อาจารย์ : มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อสลับกับการเล่นเกมผ่อนคลายเรียนแล้วสนุกมาก