วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 09.00-12.00 น.



ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย อาจารย์พูดคุยและให้คำปรึกษาต่างๆ พร้อมทั้งแจกสีเมจิกคนละ 1 ชุด ซึ่งเป็นค่าวัสดุ และอาจารย์ก็แจกรางวัลเด็กดี







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเรียนวิชานี้ทำให้มีแนวทางในการสอนเด็กเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และยังได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์นำมาสอน ซึ่งสามารถนำไปสอนเด็กได้แลสามารถบูรณาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

ประเมินผล
ประเมินตนเอง มาตรงเวลา และฟังที่อาจารย์พูด
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดและดีใจที่ได้รางวัลเด็กดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์พูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทำให้บรรยายการเรียนอบอุ่นและมอบรางวัลเด็กดีเพื่อเป็นกำลังใจในการเรียน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

คิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน

อาจารย์ให้ร้องเพลงและรำ จากนั้นก็กำหนดว่าให้จับกลุ่มกี่คน เป็นการจับกลุ่มแบบหนึ่งและยังได้รับความสนุกสนาน






กิจกรรมแต่งนิทานพร้อมกับแสดงบทบาทสมมติ
การแสดงนิทานมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ขั้นนำ
  • เล่นเกม ด้วยวิธีการรำวง และกำหนดเงื่อนไข จับกลุ่มตามคำสั่ง
ขั้นสอน
นิทานเรื่อง ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
1. ก้อนเมฆ
2. ดวงอาทิตย์
3. ลม

เนื้อเรื่อง
    ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข 
ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า “พระอาทิตย์ตื่นได้”แล้ว
จากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน 
ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไป
ลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด“ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้า” 
จากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ “เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน” 
ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!)
 สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ 
พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ “ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก”

ขั้นสรุป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ความสามัคคี และการช่วยเหลือกัน จะนำไปสู่ความสำเร็จ







นิทานเรื่องการเดินทางของจักรยาน



ข้อคิดจากนิทาน
ความอดทน การใช้รถใช้ถนน


นิทานเรื่องชาวประมงกับปลา




ข้อคิดจากนิทาน
ความสามัคคี


นิทานเรื่องรองเท้าที่หายไป





ข้อคิดจากนิทาน
การเก็บรักษาของ การมีระเบียบ

นิทานเรื่องเจ้าเท้าเพื่อนรัก



ข้อคิดจากนิทาน
การช่วยเหลือกันและกัน ความสามัคคี


รูปแบบการเล่านิทาน
1.ไม่มีการบรรยาย ผู้แสดงพูดเอง
2. มีการบรรยาย ผู้แสดงพูดด้วย
3. มีการบรรยายอย่างเดียว

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การฟังนิทานทำให้เด็กสนุกสนาน นอกจากนั้นเมื่อเด็กได้สมมุติตนเองเป็นตัวละครทำให้เด็กกล้าแสดงออกและได้ใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ นิทานสามารถสอดแทรกสิ่งที่ต้องการสอนเด็กได้ นอกจากนี้การได้คิดเนื้อเรื่องนิทานร่วมกันทำให้ด็กได้แสดงออกทางความคิด รู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการทำงานร่วมกัน

ประเมินผล
ประเมินตนเอง  มีส่วนร่วมในความคิด และการแสดง รับฟะงความคิดเห็นของเพื่อน
ประเมินเพื่อน ร่วมกันคิดเนื้อเรื่อง และตั้งใจแสดงนิทาน 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม และกระตุ้นเราด้วยคำถาม


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

การคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

กิกจรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

องค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
1. ร่างกาย
2. พื้นที่
3. ระดับ 
4. ทิศทาง

รูปแบบการเคลื่อนไหวมี 2 รูปแบบ คือ
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น สะบัดมือ ย่ำเท้า กระโดดอยู่กับที่ 
2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น เดิน สไลด์เท้า 

วัตถุประสงค์
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
2. เคลื่อนไหวบรรยาย
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
5. เคลื่อนไหวแบบขัอตกลง
6. เคลื่อนไหวแบบความจำ

บูรณาการความคิดสร้างสรรค์
  •  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  เด็กได้แสดงออกทางท่าทางประกอบเพลง
  • เคลื่อนไหวบรรยาย  ได้จินตนาการตามเรื่องราว และแสดงออกทางท่าทาง
  • เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ใช้ความคิดในการเปลี่ยนทิศทาง
  • เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม คิดสร้างสรรค์ท่าทางตามหน่วย
  • เคลื่อนไหวแบบขัอตกลง แสดงออกทางท่าทาง
  • เคลื่อนไหวแบบความจำ  สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวตามคำสั่งและข้อตกลง
เคลื่อนไหวตามคำสั่ง

เคลื่อนไหวพื้นฐาน
-ครูกำหนดสัญญาณ ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง เด็กกระโดด 1 ครั้ง
                                  ครูเคาะ 2 ครั้ง เด็กกระโดด 2 ครั้ง 
                                  ครูเคาะรั่วๆให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆ
                                  ครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

-เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
ครูเคาะจังหวะช้าๆให้เด็กเดินและโบกพัดช้าๆ
ครูเคาะจังหวะเร็วๆให้เด็กเดินและโบกพัดเร็วๆ

-ผ่อนคลาย
โดยการนวดผ่อนคลาย เช่น นวดขมับ นวดแขน นวดไหล่ นวดขา





เคลื่อนไหวแบบความจำ




การเคลื่อนไหวประกอบเพลง



การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม




เคลื่อนไหวตามข้อตกลง



เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย




การนำไปประยุกต์ใช้
ความคิดสร้างสรรค์สามารถบูรณาการเข้ากับกิจกรรมได้หลายๆอย่าง โดยอยู่ที่การจัดการสอนของคุณครูว่าเราจะจัดการสอนหรือกิจกรรมอย่างไร เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมในกลุ่ม และตั้งใจเพื่อน
ประเมินเพื่อน สอนเคลื่อนไหวได้ดี ตั้งใจในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว และเสนอแนะข้อผิดพลาดในการสอนเพื่อแก้ไขและสอนออกมาให้ดีขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ 

ประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้(กระถางต้นไม้ดูดน้ำ)

อุปกรณ์
1. ขวดน้ำพลาสติก1 ขวด
2. เชือก
3. กรรไกร
4. ต้นไม้สำหรับปลูกในขวด


ขั้นตอนการทำ
1. ตัดขวดพลาสติกออกจากกัน
2. นำฝาขวดน้ำมาเจาะรูตรงกลาง
3. นำเชือกตัดให้เท่ากันนำไปใส่รูตรงฝาขวดน้ำ
4.ปลูกต้นไม้บนส่วนบนของขวดน้ำ
5.ส่วนล่างของขวดน้ำใส่น้ำ
6.เสร็จแล้วนำส่วนบนวางบนส่วนล่าง






ตัวอย่างของเล่น/ของใช้จากวัสดุเหลือใช้
สิ่งประดิษฐ์จากขวดน้ำ

ตราชั่ง

ที่ปั๊มลูกโป่ง

ที่เสียบแปรงสีฟัน

สปิงเกอร์

ที่ใส่หนังสือ

กบเหลาดินสอ

กบเหลาดินสอ


สิ่งประดิษฐ์จากลัง

จักรเย็บผ้า

จักรเย็บผ้า

กระดาน

เก้าอี้
ตู้กดน้ำ



ตู้กดน้ำ

โทรทัศน์

ชั้นวางของ

เคาเตอร์ครัว

สิ่งประดิษฐ์จากกล่อง


เกมฟุตบอล

บ้านตุ๊กตา

กล่องใส่ที่ชาร์ตแบต



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำของเล่นที่เพื่อนนำมา ไปให้เด็กประดิษฐ์และเล่นได้ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์เป็นของที่หาได้ง่าย และของเล่นบางอย่างก็ง่ายต่อการทำซึ่งเด็กสามารถทำได้ด้ววยตนเอง ทั้งยังส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้

ประเมินผล
ประเมินตนเอง มีความพร้อมในกานำเสนอของเล่น ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อน
ประเมินเพื่อน สร้างสรรค์งานออกมาได้ดี มีความพร้อม
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำเพิ่มเติม พร้อมทั้งบอกข้อบกพร่องของของเล่นที่สามารถนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นได้