วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

คิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน

อาจารย์ให้ร้องเพลงและรำ จากนั้นก็กำหนดว่าให้จับกลุ่มกี่คน เป็นการจับกลุ่มแบบหนึ่งและยังได้รับความสนุกสนาน






กิจกรรมแต่งนิทานพร้อมกับแสดงบทบาทสมมติ
การแสดงนิทานมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ขั้นนำ
  • เล่นเกม ด้วยวิธีการรำวง และกำหนดเงื่อนไข จับกลุ่มตามคำสั่ง
ขั้นสอน
นิทานเรื่อง ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
1. ก้อนเมฆ
2. ดวงอาทิตย์
3. ลม

เนื้อเรื่อง
    ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข 
ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า “พระอาทิตย์ตื่นได้”แล้ว
จากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน 
ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไป
ลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด“ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้า” 
จากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ “เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน” 
ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!)
 สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ 
พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ “ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก”

ขั้นสรุป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ความสามัคคี และการช่วยเหลือกัน จะนำไปสู่ความสำเร็จ







นิทานเรื่องการเดินทางของจักรยาน



ข้อคิดจากนิทาน
ความอดทน การใช้รถใช้ถนน


นิทานเรื่องชาวประมงกับปลา




ข้อคิดจากนิทาน
ความสามัคคี


นิทานเรื่องรองเท้าที่หายไป





ข้อคิดจากนิทาน
การเก็บรักษาของ การมีระเบียบ

นิทานเรื่องเจ้าเท้าเพื่อนรัก



ข้อคิดจากนิทาน
การช่วยเหลือกันและกัน ความสามัคคี


รูปแบบการเล่านิทาน
1.ไม่มีการบรรยาย ผู้แสดงพูดเอง
2. มีการบรรยาย ผู้แสดงพูดด้วย
3. มีการบรรยายอย่างเดียว

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การฟังนิทานทำให้เด็กสนุกสนาน นอกจากนั้นเมื่อเด็กได้สมมุติตนเองเป็นตัวละครทำให้เด็กกล้าแสดงออกและได้ใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ นิทานสามารถสอดแทรกสิ่งที่ต้องการสอนเด็กได้ นอกจากนี้การได้คิดเนื้อเรื่องนิทานร่วมกันทำให้ด็กได้แสดงออกทางความคิด รู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการทำงานร่วมกัน

ประเมินผล
ประเมินตนเอง  มีส่วนร่วมในความคิด และการแสดง รับฟะงความคิดเห็นของเพื่อน
ประเมินเพื่อน ร่วมกันคิดเนื้อเรื่อง และตั้งใจแสดงนิทาน 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม และกระตุ้นเราด้วยคำถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น